สารเคมีเข้าตาควรทำอย่างไร?

สารเคมีเข้าตาเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุจากการทำงานหรือโดนทำร้ายร่างกาย

สารเคมีทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กรดและด่าง

กรดจะทำลายเนื้อเยื่อบริเวณผิวชั้นนอกของลูกตา เช่น เปลือกตา เยื่อบุตา ผิวกระจกตา

ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีประเภทกรดในชีวิตประจำวัน

  • ชนิดรุนแรง     ได้แก่ น้ำยาซักผ้าขาว น้ำยาล้างห้างน้ำ น้ำยาแบตเตอรี่รถยนต์ ยาฆ่าแมลง
  • ชนิดไม่รุนแรง ได้แก่ น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม น้ำมะนาว

ด่างสามารถทำลายเนื้อเยื่อเปลือกตา เยื่อบุตา ผิวกระจกตาและสามารถแทรกซึมเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อในลูกตาด้านในสามารถทำให้เกิด ม่านตาอักเสบ ต้อกระจก และ ต้อหิน

ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีประเภทกรดในชีวิตประจำวัน

  • ชนิดรุนแรง    ได้แก่  โซดาไฟ ผงซักฟอก ปูน ปุ๋ยยูเรีย
  • ชนิดไม่รุนแรง ได้แก่ สบู่ ยาสระผม น้ำยาปรับผ้านุ่ม

สารเคมีประเภทด่างจะมีความรุนแรงมากกว่ากรดเนื่องจากคุณสมบัติของกรดเมื่อทำปฎิกิริยากับโปรตีนจะทำให้โปรตีนแข็งตัวเป็นผนังกั้นไม่ให้กรดซึมผ่านเข้าไปในลูกตาได้ เพราะฉะนั้นสารเคมีที่เป็นกรดจะสามารถทำลายชั้นผิวของลูกตาได้แค่ตื้นๆเท่านั้น

Source: https://www.chinalongbow.com/2020/11/05/how-eye-wash-can-help-to-relieve-eye-irritation/

https://examples.yourdictionary.com/difference-between-acids-and-bases-key-properties.html

เมื่อสารเคมีเข้าตาควรทำอย่างไร

1.ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ(ถ้าไม่มีสามารถใช้น้ำประปาได้)

    • ล้างตาขวาให้เอียงคอไปทางด้านขวา และเทน้ำจากหัวตาให้น้ำไหลลงด้านข้างของตาขวา
    • ล้างตาซ้ายให้เอียงคอไปทางด้านซ้าย และเทน้ำจากหัวตาให้ไหลลงด้ายซ้ายของตาซ้าย

2. ล้างตา20-30นาที หรือ จนกว่าจะมีญาติที่สามารถนำส่งโรงพยาบาลได้(ระยะเวลาการล้างตาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสารเคมีที่เข้าตา)

3. เมื่อทำการล้างตามีสิ่งแปลกปลอมให้นำไม้พันสำลีเช็ดออก(ห้ามนำมือสัมผัสเนื่องจากอาจจะเกิดการติดเชื้อได้)

4. นำส่งโรงพยาบาลให้แพทย์เช็คอย่างละเอียด

*การล้างตาก่อนมาพบแพทย์สามารถช่วยให้สารเคมีที่เข้าตามีความเข็มข้นที่น้อยลงได้เพราะสารเคมีอาจจะซึมเข้าลูกตา เกิดการทำลายเนื้อเยื่อหรือส่วนต่างๆของลูกตา อาจทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงและยากต่อการรักษา