คนส่วนใหญ่ที่เข้ามารับการตรวจวัดสายตา และตรวจสุขภาพตากับนักทัศนมาตรที่ศรไทย ก็จะได้รับการตรวจวัดความสามารถทางการมองเห็นสีด้วยเช่นกันค่ะ

การตรวจการมองเห็นสี (color vision test) มีความสำคัญอย่างไร?

         การตรวจการมองเห็นสี ทำเพื่อวัดความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างของสี ที่คนปกติสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (คนปกติ จะมีเซลล์รับสีอยู่ 3 ชนิด สำหรับรับสีแดง เขียว และฟ้า) ซึ่งทางศรไทยจะตรวจให้แทบทุกคนโดยเฉพาะผู้มีความเสี่ยงที่จะเป็นตาบอดสีได้ เช่น

  1. ผู้ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นตาบอด
  2. เพศชายมักจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
  3. มีความผิดปกติทางด้านจอประสาทตา

การตรวจการมองเห็นสีกับการเตรียมตัวสอบบางอาชีพ 

         ในกรณีที่ต้องตรวจเพื่อเตรียมตัวเข้าสมัครเรียนหรือสมัครงานในบางสาขาอาชีพ เช่น หมอ พยาบาล ทันตะ ตำรวจ นักบิน เป็นต้น เพราะเนื่องจากอาชีพดังกล่าว จะต้องอาศัยการแยกแยะรายละเอียด การแยกแยะสีให้ได้ ซึ่งหากเป็นตาบอดสีแล้ว อาชีพดังที่ยกตัวอย่างไป ก็หมดโอกาสในการสมัครเข้าเรียน

         “แต่อย่างน้อย การได้ทราบว่าตัวเองเป็นยังไง ถือเป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า และยังเป็นการเผื่อใจไว้ล่วงหน้าอีกด้วย เพื่อที่จะได้มีเวลามองหาสิ่งใหม่ๆ ที่คู่ควรมากกว่านั่นไงล่ะคะ”

 

ในการตรวจนักทัศนมาตร จะเริ่มจากตรวจตาทีละข้างตา โดยแบบทดสอบที่ใช้ ได้แก่

1. Ishihara pseudoisochromatic plates (นิยมใช้ในการตรวจมากที่สุด)

-ใช้คัดกรองเบื้องต้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาหรือความผิดปกติในการมองเห็นสีเขียว-แดง

-ลักษณะแบบทดสอบ: เป็นหนังสือ 1 เล่ม มีหลายหน้า แต่ละหน้าจะมีจุดสีปะปนกัน มีทั้งภาพตัวเลขและลายเส้น

– ข้อด้อย: ไม่สามารถบอกความผิดปกติของผู้ที่ตาบอดสีฟ้า-เหลืองได้

2. Fransworth D-15

-ใช้ทดสอบตาบอดสี ที่ประกอบด้วยเฉดสีที่แตกต่างกัน โดยใน D-15 จะมีสีทั้งหมด15 สี

– ลักษณะแบบทดสอบ: ผู้รับการตรวจจะต้องทำการเรียงสีในกล่อง ให้มีเฉดสีที่เรียงกันได้อย่างถูกต้อง ตามลำดับ

– การทดสอบนี้ สามารถตรวจผู้ที่มีตาบอดสีฟ้า-เหลือง ได้ด้วยนะคะ

 

         สำหรับท่านใดสนใจเข้ารับการตรวจ หรือสนใจที่จะพาลูกหลานเข้ามาทำการทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางการมองเห็นสี ก็ขอเรียนเชิญได้เลยนะคะ ศรไทย ยินดีให้บริการค่ะ^^