ลูกสาวของผู้ที่เข้ามาตรวจสุขภาพตากับทางศรไทย มีพฤติกรรมติดมือถือมาก คุณหมอบอกว่ามีอาการของโรคสายตาสั้นเทียม ไม่ทราบว่าโรคนี้คืออะไร และจะรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ มีอันตรายมากน้อยแค่ไหนคะ เรามาทำความรู้จัก และป้องกันเด็กๆ ให้ห่างไกลโรคนี้ที่สามารถพัฒนาไปเป็นสายตาสั้นจริงได้กันเถอะค่ะ

สายตาสั้นเทียม

         เกิดจากการเกร็งตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อเล็กๆ ในลูกตา ซึ่งเมื่อเรามองดูของที่อยู่ใกล้ สภาพตาก็จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนคนสายตาสั้น  ซึ่งปกติกล้ามเนื้อส่วนนี้ จะเกร็งตัวและคลายตัวสลับกันไปมาตลอด แต่หากเราใช้สายตาเพ่งดูหน้าจอนานเกินไป จะทำให้เกิดการเกร็งตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อเล็กๆ แต่อาการอาการเหล่านี้จะเป็นอยู่แค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ และกลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิม ดังนั้น ภาวะนี้จึงถือว่าเป็นสายตาสั้นเทียม หรือสายตาสั้นชั่วคราวนั่นเอง

อาการของคนที่มีภาวะสายตาสั้นเทียม

  1. ปวดหัว ปวดตา อาเจียนอาจมีอาการปวดตา ปวดหัว หรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย เเละหลังใช้สายตานานๆ ก็จะมีอาการตามัวมากขึ้น
  2.  สายตาสั้นเทียมจะเกิดอาการมองไม่ชัดในทัน และวัดค่าสายตาได้ไม่แน่นอน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดเวลา

         ในเด็กบางรายอาจจะมีอาการเพ่งค้าง มองเห็นไม่ชัด แม้ว่าเลิกเล่นสมาร์ทโฟนไปแล้ว หันไปทำกิจกรรมอื่น หรือมองไกล ๆ ดวงตายังเกิดภาวะเพ่งอยู่ ไม่คลายตัวออก ตรงนี้หากผู้ปกครองไม่ทราบอาจจะเข้าใจไปเองว่าลูกมีภาวะสายตาสั้น จึงพาไปวัดสายตาและตัดแว่นที่ร้านขายแว่นตานั้นอาจจะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริง เพราะร้านแว่นไม่ได้รับอนุญาตให้หยดสารลดการเพ่งตา ก่อนตรวจด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะให้ค่าสายตาที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง 

สายตาสั้นเทียม มีสาเหตุมาจาก

         สายตาสั้นเทียมมักเกิดขึ้นในเด็กอายุประมาณ 6 ปีขึ้นไป และพบน้อยลงในวัยรุ่น ส่วนในผู้ใหญ่จะไม่ค่อยพบ เนื่องจากกลไกการเพ่งของสายตาในเด็กจะมีกำลังมากกว่าในผู้ใหญ่ และจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น เช่น คนอายุ 40 ปีจะไม่มีกำลังการเพ่งดีเท่าเด็ก ซึ่งอาการสายตาสั้นเทียมนี้เกิดจาก

  1. พฤติกรรมการชีวิตประจำวันของเด็กรุ่นใหม่ที่มักใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์เป็นประจำ และใช้งานต่อเนื่องกันยาวนานหลายชั่วโมง 
  2. โรคทางสมอง เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
  3. ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค เช่น ยาคลายเครียด ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาคลายกล้ามเนื้อต่างๆ
  4. ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกรอกตา

แนวการป้องกันตาสั้นเทียมจะมีอย่างไรบ้าง มาดูกัน

  1. ควรมีการพักสายตาเป็นระยะ เมื่อต้องใช้สายตาระยะใกล้ เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้เพ่งนั้นคลายตัวลง อาจจะเลือกใช้สูตร 20/20/20 คือใช้สายตาเพ่ง 20 นาที มองไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที หรือ อาจจะพักสายตา 1 นาที ทุกครึ่งชั่วโมง หรือใช้สายตา 1  ชั่วโมง แล้วพักสายตา 5-10 นาทีก็ได้เพื่อไม่ให้เกิดการเพ่งค้าง
  2. ไม่ควรใช้สายตาในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ หรืออ่านหนังสือที่มีตัวขนาดเล็กมากเกินไปเพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดการเพ่งมากขึ้นได้
  3. ใส่เลนส์ช่วยลดการเพ่ง ซึ่งทำให้เวลามองระยะไกลจะเห็นชัดเจน และเวลามองระยะใกล้จะใช้แรงในการเพ่งน้อยลง
  4. เทรนนิ่งสุขภาพการมองเห็นด้วยการฝึกการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อตา เช่น การให้เด็กๆ มองคำไกลๆ แล้วมาเขียนเติมคำในช่องว่างที่กระดาษในมือ เพื่อให้เขาได้ฝึกมองระยะใกล้ และระยะไกล ในเวลาเดียวกัน

         หากบุตรหลานของคุณลูกค้ามีปัญหาด้านสุขภาพตาอยู่ หรือพบปัญหาจากที่เรายกตัวอย่างมาในข้างต้น หรือไม่แน่ใจในอาการที่เด็กๆ กำลังเป็นอยู่ ก็สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ศรไทยทุกสาขาได้เลยนะคะ