5. อะไรคือสายตายาวตามวัย Presbyopia ?

โดยปกติแล้ว เมื่อเรามองวัตถุใกล้เข้ามา สิ่งที่เกิดขึ้นกับสรีระทางตาก็คือกล้ามเนื้อตาที่ยึดกับเลนส์ในตา เกิดการหดเกร็ง ทำให้เลนส์ในตาป่องตัวขึ้น รูม่านตาหดลง

กระบวนการทั้งหมดนี้ เราจะเรียกว่า การเพ่ง หรือ

Accommodation นั่นเองค่ะ

 

แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ ประมาณ40ปีขี้นไป โดยเฉลี่ย ความสามารถในการเพ่งก็จะเริ่มลดลง เนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงลง บวกกับความยืดหยุ่นของเลนส์ในตาที่ลดน้อยลงด้วย ซึ่ง

ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลมาจากความเสื่อมลง ที่เป็นไปตามวัย นั่นเองค่ะ

อาการ:

  1. ไม่สบายตาขณะอ่านหนังสือ เล่นมือถือ หรือใช้สายตาในระยะใกล้
  2. อ่านตัวอักษรขนาดเล็ก ลำบากมากขึ้นเรื่อยๆ จะต้องใช้วิธียืดวัตถุที่อ่านอยู่ เข้า-ออกจากตัว เพื่อปรับโฟกัสภาพ
  3. พบว่า อาการตามข้อ(1.)และ(2.) จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจะพบในกลุ่มคนอายุตั้งแต่38-40ปีขึ้นไป

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องขึ้นอยูกับพฤติกรรมการใช้สายตาและโรคทางตาในแต่ละบุคคลด้วยนะคะ

สำหรับการวินิจฉัยภาวะนี้ โดยนักทัศนมาตร เริ่มจาก

  1. ซักประวัติ สอบถามอาการเบื้องต้นของคนไข้
  2. ทำการวัดสายตาทั้งระยะไกล และใกล้ อย่างละเอียด
  3. ตรวจสุขภาพตา ร่วมด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบการรักษา ไม่ว่าจะเป็นทั้งในเรื่องการจ่ายแว่น การจ่ายคอนแทคเลนส์ หรือการแนะนำในด้านอื่นๆที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อตัวคนไข้เองค่ะ

ทางเลือกในการแก้ไขผู้ที่เกิดภาวะนี้ มีหลายรูปแบบ

ยกตัวอย่างเช่น

  1. ใช้แว่นสายตาเฉพาะมองใกล้(reading glasses)
  2. ใช้แว่นสายตาสองชั้น ที่เห็นรอยต่อ
  3. ใช้แว่นสายตาที่มีหลายโฟกัส(Progressive,Degressive)
  4. ใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ที่เป็นแบบ monovision (ตาข้างนึงแก้ไขเพื่อมองไกล สำหรับตาอีกข้าง แก้ไขสายตาเพื่อใช้มองใกล้)

เป็นต้น

ทั้งสี่ทางเลือกที่หยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเพียงการยกตัวอย่างคร่าวๆเท่านั้นนะคะ และในแต่ละทางเลือกก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป

แต่ไม่ว่าจะเลือกแก้ไขด้วยวิธีการใดก็ตาม จะต้องดูความเหมาะสมในแต่ละบุคคลด้วยค่ะ

 

ผู้ที่สนใจสามารถพบกับนักทัศนมาตรได้ ณ ร้านแว่นตาศรไทย ทุกสาขาเลยนะคะ

ทางเรายินดีให้คำปรึกษา และบริการค่ะ